Powered By Blogger

วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ลิลิตตะเลงพ่าย (ร้อยแก้ว สมบูรณ์)

  ลิลิตตะเลงพ่าย
ตอนที่ 1 เริ่มบทกวี

(ร่าย) กล่าวสดุดีที่ทรงมีชัยชนะในการทำยุทธหัตถีต่อพระมหาอุปราชาว่าพระเกียรติ เกริกไกรไปทั่วทุกหนทุกแห่ง ข้าศึกเกรงพระบรมเดชานุภาพไม่กล้าเสี่ยงทำสงคราม จึงพากันยอมอ่อนน้อมเป็นเมืองขึ้น กรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรืองมีความสุขสำราญพรั่่ ่   ่ ่ ่ ่ ่    ป ป ป  ป   ป ป 
  งพร้อมด้วยโภคสมบัติ พร้อมสรรพด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารอันสมบูรณ์ บ้านเมืองมีแต่ความสงบปราศจากศึกสงคราม ข้าราชการทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายในก็พากันเฝ้าแหนอย่างพร้อมพรั่ง เหล่าทหารพล ช้าง ม้า อาวุธ ปืนไฟ ก็มีมากมาย ทั่วโลกล้วนสรรเสริญสดุดี(โคลง สี่สุภาพ) บุญญานุภาพแห่งพระนเรศวรมหาราชกษัตริย์แห่งแผ่นดินสยาม ข้าศึกได้ยินพระเกียรติยศชื่อเสียง ก็พากันเกรงพระบรมเดชานุภาพ ฤทธิ์ของพระองค์ดั่งพระรามที่ปราบยักษ์ก็ปานกัน เมื่อทำสงครามข้าศึกก็ต้องพ่ายแพ้ทุกครั้ง
ข้าศึกพินาศไปเหมือนทหารยักษ์ พระองค์ดั่งพระรามอวตารลงมาปราบยุคเข็ญ ข้าศึกแม้ตั้งแสนก็ไม่อาจต่อสู้ฤทธิ์พระองค์ได้ พากันตกใจกลัวแล้วหนีไปเสร็จ ศึกแล้วก็ขึ้นครองราชสมบัติ พระบารมีของพระองค์ทำให้บ้านเมืองร่มเย็นดุจแสงเดือนที่ส่องอยู่บนท้องฟ้า ทุกแห่งหนทั่วบ้านเมืองมีแต่ความสมบูรณ์ ปราศจากความทุกข์ใดๆทั้งสิ้น จนเป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญทั่วไปทุกแหล่งหล้า

ตอนที่ 2 เหตุการณ์ทางเมืองมอญ

ฝ่าย นครรามัญ คือ หงสาวดี ทราบข่าวว่าพระมหาธรรมราชากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาถึงแก่พิราลัย พระราชโอรส คือ พระนเรศวรได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ จึงได้ประชุมหมู่อำมาตย์ปรึกษากันว่า กรุงศรีอยุธยาผลัดเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ บางทีโอรสทั้งสองพระองค์อาจจะวิวาทกันเพื่อแย่งชิงราชสมบัติ เราควรยกทัพไปดูลาดเลา ถ้าได้เปรียบก็จะได้รบแย่งชิงเอาบ้านเมืองเสีย ขุนนางทั้งหลายต่างก็เห็นชอบตามพระราชดำริ จึงรับสั่งให้พระมหาอุปราชาราชโอรสจัดเตรียมทัพพร้อมด้วยทัพเมืองเชียงใหม่ เป็นจำนวนห้าแสนคนยกไปตีกรุงศรีอยุธยา พระมหาอุปราชากราบบังคมทูลว่าโหรทำนายว่าพระองค์เคราะห์ร้ายชะตาถึงฆาต พระเจ้าหงสาวดีจึงตรัสเป็นเชิงประชดว่า “เจ้า อยุธยามีโอรสเก่งกล้าสามารถในการรบ ไม่ต้องให้พระบิดาใช้ แต่กลับต้องไม่ให้ทำศึกเสียอีก ถ้าเจ้าเกรงว่าเคราะห์ร้ายก็อย่าไปรบเลย เอาผ้าสตรีมานุ่งเถอะจะได้หมดเคราะห์” พระมหาอุป ราชาทรงอับอายขุนนางข้าราชการเป็นอันมาก จึงเตรียมยกทัพโดยเกณฑ์จากหัวเมืองต่างๆรวมจำนวนห้าแสนคนเตรียมยกทัพไปใน เวลาเช้าตรู่วันรุ่งขึ้น แล้วเสด็จกลับตำหนักสั่งลาพระสนมทั้งหลายด้วยความอาวรณ์จนถึงรุ่งเช้า ยังไม่ทันสว่างก็แต่งองค์ทรงเครื่องเสร็จแล้วก็ไปเฝ้าพระราชบิดาเพื่อ ทูลลาไปราชสงคราม ณ กรุงศรีอยุธยา พระ เจ้าหงสาวดีก็พระราชทานพรให้ชนะศึกสยามในครั้งนี้ แล้วก็ทรงเตือนว่าสงครามนั้นมากด้วยกลอุบาย อย่าคิดอะไรตื้นๆ อย่าทะนงตน แล้วทรงชี้เรื่องที่โบราณสั่งสอนไว้ที่เป็นประโยชน์ต่อการรบ คือ โอวาท 8 ประการ
1. อย่าเป็นคนหูเบา (จงพ่อย่ายินยล แต่ตื้น)
2. อย่าทำอะไรตามใจตนเอง ไม่นึกถึงใจผู้อื่น (อย่าลองคะนองตน ตามชอบ ทำนา)
3. รู้จักเอาใจทหารให้หึกเหิมอยู่เสมอ (เอาใจทหารหาญ เริงรื่น อยู่นา)
4. อย่าไว้ใจคนขี้ขลาดและคนโง่ (อย่าระคนปนใกล้ เกลือกกลั้วขลาดเขลา)
5. ควรรอบรู้ในการจัดกระบวนทัพทุกรูปแบบ (หนึ่งรู้พยุหเศิกไสร้ สบสถาน)
6. รู้หลักพิชัยสงคราม การตั้งค่าย (รู้เชิงพิชัยชาญ ชุมค่าย ควรนา)
7. รู้จักให้บำเหน็จความดีความชอบแก่แม่ทัพนายกองที่เก่งกล้า(หนึ่งรู้บำเหน็จให้ ขุนพล อันสมรรถมือผจญ จืดเสี้ยน)
8. อย่าลดความเพียรหรืออย่าเกียจคร้าน (อย่าหย่อนวิริยะยล อย่างเกียจ)
ครั้งทรงรับโอวาทและคำประสาทพรแล้ว ก็กราบบังคมลามาที่เกยประทับบนหลังช้างพระที่นั่งพลายพัทธกอ ยกกองทัพออกจากพระนครผ่านโขลนทวารเสด็จพระราชดำเนินไปโดยทางสถลมารคทันที

ตอนที่ 3 พระมหาอุปราชายกทัพเข้าเมืองกาญจนบุรี

พระมหาอุปราชายกทัพมาถึงด่านเจดีย์สามองค์ (ซึ่งเป็นชายแดนระหว่างพม่ากับไทยในปัจจุบัน) ก็ผ่านด่านเจดีย์สามองค์เข้ามาในเขตสยามทันที และพระองค์ได้ทรงรำพันถึงนางสนมว่า
(24) เสด็จ มาลำพังพระองค์เดียวเปล่าเปลี่ยวใจและน่าเศร้านัก เมื่อทรงชมต้นไม้และดอกไม้ที่ทรงพบเห็นระหว่างทางก็ค่อยเบิกบานพระทัยขึ้นมา บ้าง แต่ก็ไม่วายคิดถึงนางสนมกำนัลทั้งหลาย
(25) ทรง เห็นต้นสลัดไดทรงดำริว่าเหตุใดจึงต้องจากน้องมานอนป่า มาเพื่อทำสงครามกับข้าศึก เห็นต้นสละที่ต้องสละน้องมาเหมือนชื่อต้นไม้ เห็นต้นระกำที่ชื่อต้นไม้ช่างเหมือนอกพี่แท้ๆ
(26) ต้น สายหยุดเมื่อสายก็หมดกลิ่น แต่ใจพี่แม้ยามสายก็ไม่คลายรักน้อง กี่วันกี่คืนที่จากน้องพี่มีแต่ความทุกข์คิดถึงน้องทุกค่ำเช้า ไม่รู้ว่าจะหยุดรักน้องได้อย่างไร
(27) กองทัพมอญดูมืดฟ้ามัวดิน ทั้งกองทัพ ม้า ช้าง ถืออาวุธเป็นมันปลาบ เห็นธงปลิวไสวเต็มทองฟ้า
ฝ่ายเจ้าเมืองกาญจนบุรี จัดทหารไปสืบข่าวในเขตมอญ ทหารก็ลัดเลาะไปทางลำน้ำแม่ กษัตริย์เห็นกองทัพยกมาก็ตกใจ เห็นฉัตรห้าชั้นก็ทราบว่าเป็นพระมหาอุปราชายกทัพมา ก็รีบกลับมาแจ้งข่าวศึกให้เจ้าเมืองกาญจนบุรีทราบ เจ้าเมืองทราบข่าวศึกก็ตกใจมากจนขวัญไม่อยู่กับตัว ปรึกษากันแล้วก็เห็นว่าเมืองเรามีกำลังน้อย ต่อสู้ก็คงสู้ไม่ได้จึงชวนกันหลบหนีเข้าป่าไป ส่วนกองทัพพระมหาอุปราชาเร่งยกทัพมาถึงแม่น้ำลำกระเพิน ให้พระยาจิตตองทำสะพานไม้ไผ่ปูเพื่อยกพลเดินข้ามฝาก ชาวสยามเห็นชัดเช่นนั้นจึงมีสารลงชื่อทุกคนรายงานเรื่องข้าศึกยกทัพเข้ามา แล้วให้ขุนแผน (นายด่าน) ขี่ม้าเร็วมาบอกพญามหาดไทย เพื่อกราบทูลเรื่องให้ทรงทราบ กองทัพมอญยกทัพมาถึงเมืองกาญจนบุรีเห็นบ้านเมืองว่างเปล่า ไม่มีผู้ใดออกสู้รบ จะจับคนไทยมาสอบถามก็ไม่มีเลยสักคน จึงรู้ว่าคนไทยทราบข่าวและหลบหนีไปหมดแล้ว พระมหาอุปราชาจึงให้ยกทัพเข้าไปในเมือง แล้วยกทัพต่อไปถึงตำบลพนมทวนเกิดลมเวรัมภาพัดหอบเอาฉัตรหัก พระมหาอุปราชาตกพระทัย ทรงให้โหรทำนาย โหรทราบถึงลางร้ายแต่ไม่กล้ากราบทูลตามความจริง กลับทำนายว่า เหตุการณ์เช่นนี้ถ้าเกิดในตอนเช้าไม่ดี ถ้าเกิดในตอนเย็นจะได้ลาภ และจะชนะศึกสยามในครั้งนี้ พระมหาอุปราชาได้ทรงฟังก็ทรงเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง พระองค์อดที่จะหวั่นในพระทัยไม่ได้ด้วยเกรงพ่ายแพ้ข้าศึก ด้วยความหมกมุ่นในพระทัยก็ทรงระลึกถึงพระราชบิดาว่าถ้าพระองค์เสียโอรสให้แก ข้าศึก จะต้องโทมนัสใหญ่หลวง เพราะเปรียบเหมือนพระองค์ถูกตัดพระพาหาทั้งสองข้างทีเดียว การรบกับพระนเรศวรใครก็ไม่อาจจะต่อสู้ได้ เสียดายแผ่นดินมอญจะต้องพินาศเพราะไม่มีใครอาจจะต่อสู้ต้านทาน สงสารสมเด็จพระราชบิดา ที่จะต้องเปล่าเปลี่ยวพระทัย ทั้งพระองค์ก็ทรงชราภาพมากแล้ว เกรงจะพ่ายแพ้เสียทีแก่ชาวสยาม สงครามครั้งนี้หนักใจนัก เรารู้สึกหนาวเหน็บอยู่ในใจ ลูกตายใครจะเก็บผีไปให้ คงจะถูกทิ้งอยู่ไม่มีใครเผา พระองค์จะอยู่ในพระนครแต่ลำพังพระองค์เดียว ไม่มีใครเป็นคู่ทุกข์ริเริ่มสงครามเพียงลำพังได้อย่างไร พระองค์คงจะต้องคับแค้นพระทัย ฝ่ายเจ้าเมืองต่างๆ ที่อยู่ใกล้ๆ คือ เมืองสิงห์ เมืองสรรค์ เมืองสุพรรณ ก็พากันอพยพผู้คนหนีเข้าป่า แล้วมีสารไปกราบให้พระนเรศวรทรงทราบ

ตอนที่ 4 พระนเรศวรทรงปรารภเรื่องตีเมืองเขมร

ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรประทับออกขุนนางอยู่ในท้องพระโรง ได้มีพระราชดำรัสถามถึงทุกข์สุขของปวงชน ขุนนางก็กราบทูลให้ทรงทราบ พระองค์ทรงตัดสอนคดีด้วยความยุติธรรม ราษฎรก็อยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุขแล้วพระองค์ก็มีพระราชดำรัสถึงการที่จะยกทัพไปตีเขมร โดยกำหนดวันที่จะยกทัพออกไป ส่วนทัพเรือจะให้เกณฑ์หัวเมืองปักษ์ใต้เพื่อยกไปตีเมืองพุทไธมาศและเมืองบัก สักแล้ว ให้เข้าล้อมเมืองหลวงของเขมรไว้ พระองค์ทรงพระวิตกว่าพม่าจะยกกองทัพมา จะได้ให้ใครอยู่ป้องกันบ้านเมืองรอพระองค์เสด็จกลับมา ทรงเห็นว่าพระยาจักรีเป็นผู้ที่เหมาะสมก็ทรงแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาบ้านเมืองแต่ทรงคาดคะเนว่าทัพพม่าพึ่งจะแตกไปเมื่อต้นปี ปีนี้คงจะยังไม่ยกมา ถ้ามีก็เห็นจะเป็นปีหน้า ขณะที่ทรงปรึกษากันอยู่นั้น ทูตเมืองกาญจนบุรีก็มาถึงและกราบทูลเรื่องราวให้ทรงทราบ พระองค์กลับทรงยินดีที่ได้รับข่าวศึก จึงให้พระเอกาทศรถเข้าเฝ้าเพื่อแจ้งข่าวให้ทราบ

ตอนที่ 5 สมเด็จพระนเรศวรทรงเตรียมการสู้ศึกมอญ

สมเด็จ พระนเรศวรมีพระราชดำรัสว่า เราเตรียมทัพจะไปตีเขมร ศึกมอญกลับมาชิงตัดหน้า ไม่ให้เราไปรบเขมร เราจะได้ยกไปทำสงครามเพื่อเป็นการรื่นเริงครั้งยิ่งใหญ่ และจะต้องเอาชนะให้ได้ก่อน แล้วพระองค์ก็มีรับสั่งให้ประกาศแก่เมืองราชบุรีให้เกณฑ์ทหารจำนวน 500 คน
ไปซุ่มดูข้าศึกขณะกำลังข้ามสะพานที่ลำกระเพินและให้รีบตัดสะพานให้ขาด จุดไฟเผาอย่าให้เหลือ
แล้วให้หลบหนีกลับมาอย่าให้ข้าศึกจับได้
พอ รับสั่งเสร็จ ทูตจากเมืองสิงห์ เมืองสรรค์ เมืองสุพรรณบุรี ก็มาถึง เขาก็เบิกตัวเข้าเฝ้ากราบบังคมทูลเรื่องราวและถวายสารให้ทรงทราบว่า ขณะนี้กองทัพมอญลาดตระเวนเข้ามาถึงเขตเมืองวิเศษไชยชาญแล้ว
สมเด็จ พระนเรศวรได้ทรงเกรงกลัวข้าศึกแม้แต่น้อย กลับโสมนัสที่จะได้ปราบข้าศึก ทั้งสองพระองค์ปรึกษาถึงกลศึกที่จะรับมือกับมอญ ขุนนางได้ถวายคำแนะนำให้ออกไปรับข้าศึกที่นอกกรุงศรีอยุธยา ความคิดนี้ตรงกลับพระดำริของพระองค์ แล้วมีรับสั่งให้จัดทัพกำลังพลห้าหมื่น
เกณฑ์จากหัวเมืองตรีและจัตวา 23 หัว เมืองใต้ เป็นทัพหน้า ให้พระยาศรีไสยณรงค์เป็นแม่ทัพ พระราชฤทธานนท์เป็นปลัดทัพ โดยให้กองหน้าออกไปต่อสู้ข้าศึก หากสู้ไม่ได้พระองค์จะออกไปต่อสู้ในภายหลัง ทั้งสองแม่ทัพรับพระบรมราชโองการแล้วก็ยกทัพไปตั้งอยู่ตำบลหนองสาหร่าย โดยตั้งค่ายเป็นรูปภูมิพยุหไกรสร ทหารทั้งปวงก็ขวัญดีมีความรื่นเริงทั่วหน้า ตั้งรอทัพข้าศึกอยู่

 

ตอนที่ 6 พระนเรศวรทรงตรวจเตรียมทัพ
ขณะ นั้นสมเด็จพระนเรศวรก็มีรับสั่งให้โหรหาฤกษ์ที่จะยกทัพหลวงไป หลวงญาณโยคและหลวงโลกทีปคำนวณพระฤกษ์ว่า พระนเรศวรได้จตุรงคโชคอาจปราบข้าศึกให้แพ้สงครามไป
ขอเชิญเสด็จยกทัพออกจากพระนคร ณ วันอาทิตย์ ขึ้น 11 ค่ำ เดือนยี่ เวลา 8.30 น.
เมื่อ ได้มงคลฤกษ์ ทรงเคลื่อนพยุหยาตราเข้าโขลนทวาร พระสงฆ์ประพรมน้ำพระพุทธมนต์แก่กองทัพเสด็จทางชลมารคไปประทับแรมที่ตำบลปาก โมก เมื่อประทับที่ปากโมก สมเด็จพระนเรศวรทรงปรึกษาการศึกอยู่กับขุนนางผู้ใหญ่จนยามที่สามจึงเสด็จ เข้าที่บรรทม ครั้นเวลา 4 นาฬิกา พระองค์ทรงพระสุบินเป็นศุภนิมิติ
เรื่อง ราวราวในพระสุบินของสมเด็จพระนเรศวรมีว่า พระองค์ได้ทอดพระเนตรน้ำไหลบ่าท่วมป่าสูง ทางทิศตะวันตก เป็นแนวยาวสุดพระเนตร และพระองค์ทรงลุยกระแสน้ำอันเชี่ยวและกว้างใหญ่นั้น จระเข้ใหญ่ตัวหนึ่งโถมปะทะและจะกัดพระองค์ จึงเกิดต่อสู้กันขึ้น พระองค์ใช้พระแสงดาบฟันถูกจระเข้ตาย ทันใดนั้นสายน้ำก็เหือดแห้งไป พอตื่นบรรทมสมเด็จพระนเรศวรรับสั่งให้โหรทำนายพระสุบินนิมิตทันที พระโหราธิบดีถวายพยากรณ์ว่า พระสุบินครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะเทวดาสังหรให้ทราบเป็นนัย น้ำซึ่งไหลบ่าท่วมป่าทางทิศตะวันตกหมายถึงกองทัพของมอญ จระเข้คือพระมหาอุปราชา การสงครามครั้งนี้จะเป็นการใหญ่ ขนาดถึงได้กระทำยุตธหัตถีกัน การที่พระองค์เอาชนะจระเข้ได้แสดงว่าศัตรูของพระองค์จะต้องสิ้นชีวิตลงด้วย พระแสงของ้าว และที่พระองค์ทรงกระแสน้ำนั้น หมายความว่า พระองค์จะรุกไล่บุกฝ่าไปในหมู่ข้าศึกจนข้าศึกแตกพ่ายไปไม่อาจจะทานพระบรมเด ชานุภาพได้
พอใกล้ฤกษ์ยกทัพ สมเด็จพระนเรศวรและพระเอกาทศรถเสด็จไปยังเกยทรงช้างพระที่นั่ง คอยพิชัยฤกษ์อยู่ทันใดนั้นพระองค์ทอดพระเนตรพระบรมสารีริกธาตุส่องแสงเรือง งาม ขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยง ลอยมาในท้องฟ้าทางทิศใต้หมุนเวียนรอบกองทัพเป็นทักษิณาวรรค 3 รอบ แล้วลอยวนไปทางทิศเหนือ สมเด็จพระพี่น้องทั้งสองพระองค์ทรงปิติยินดีตื้นตันพระทัย ทรงสรรเสริญและนมัสการ อธิษฐานให้พระบรมสารีริกธาตุนั้นบันดาลให้พระองค์ชนะข้าศึก
แล้ว สมเด็จพระนเรศวรเสด็จประทับช้างทรง คือ เจ้าพระยาไชยานุภาพ สมเด็จพระเอกาทศรถ เสด็จประทับช้างทรง คือ เจ้าพระยาปราบไตรจักร เคลื่อนขบวนทัพพยุหยาตราต่อไป

 

ตอนที่ 7 พระมหาอุปราชาทรงปรึกษาการศึกแล้วยกทัพเข้าปะทะหน้าของไทย
ฝ่าย กองตระเวนของมอญ ซึ่งได้รับคำสั่งให้มาสืบข่าวดูกองทัพไทยซึ่งจะออกมาต่อสู้ต้านทานจะได้นำ ข่าวมาพระมหาอุปราชา สมิงอะคร้าน สมิงเป่อ สมิงซายม่วน พร้อมด้วยกองม้าจำนวน 500 คน ได้ไปพบกองทัพไทยตั้งค่ายรอรับอยู่ที่หนองสาหร่ายจึงรีบกลับไปทูลแด่องค์พระ มหาอุปราชา พระองค์ตรัสถามนายกองทั้งสามว่าประมาณกำลังพลฝ่ายไทยประมาณเท่าใด นายกองกราบทูลว่า ประมาณสิบ – สิบแปด หมื่น ดูเต็มท้องทุ่ง พระมหาอุปราชาตรัสว่ากษัตริย์ไทยทั้งสองพระองค์ออกมารอรับทัพเป็นกองใหญ่ แต่กำลังน้อยกว่าของเรา ของเรามากกว่าหลายส่วน
เรา จะต้องรีบโจมตีหักเอาให้ได้ตั้งแต่แรกจะได้เบาแรง แล้วจะได้ไปล้อมกรุงศรีอยุธยาชิงเอาราชสมบัติเห็นจะได้เมืองโดยสะดวก แล้วรับสั่งให้ขุนพลเตรียมทัพให้เสร็จแต่ 3 นาฬิกา พอ 5 นาฬิกา
ก็ยกไปโดยกะสว่างเอาข้างหน้า พรุ่งนี้เช้าจะได้เข้าโจมตี
เสนาผู้ใหญ่ได้ทำตามรับสั่ง เมื่อถึงเวลาตีห้า พระมหาอุปราชาแต่งองค์แล้วเสด็จประทับช้างพลายพัธกอซึ่งกำลังตกมัน
พระยาศรีไสยณรงค์และพระราชฤทธานนท์ เมื่อได้รับพระบรมราชโองการให้ออกโจมตีข้าศึก จึงจัดทัพพร้อมด้วยกำลังพล 5 หมื่น และจัดทัพแบบตรีเสนา คือแบ่งเป็นทัพใหญ่ 3 ทัพ
แต่ล่ะทัพแยกออกเป็น 3 กอง ดังนี้

กองหน้า เจ้าเมืองธนบุรี (นายกองหน้า ปีกซ้าย)
พระยาสุพรรณบุรี ( นายกองหน้า )
เจ้าเมืองนนทบุรี (นายกองหน้า ปีกขวา)

กองหลวง เจ้าเมืองสรรคบุรี (นายกอง ปีกซ้าย)
พระยาศรีไสยณรงค์ (แม่ทัพ ขี่ช้างพลายสุรงคเดชะ)
เจ้าเมืองสิงห์บุรี (นายกอง ปีกขวา)

กองหลัง เจ้าเมืองชัยนาท (นายกองหลัง ปีกซ้าย)
พระราชฤทธานนท์ (ปลัดทัพคุมกองหลัง)
พระยาวิเศษชัยชาญ (นายกองหลัง ปีกขวา)

ทัพไทยเคลื่อนออกจากหนองสาหร่ายถึงโคกเผาข้าวเวลาประมาณ 7 นาฬิกา ได้ปะทะกับทัพมอญ ทั้งสองฝ่ายได้ต่อสู้กันด้วยอาวุธชนิดเดียวกันเป็นคู่ๆ ด้วยความสามารถ ต่างฝ่ายก็ล้มตายเป็นจำนวนมาก พวกที่เหลือก็ต่อสู้กันอย่างไม่เกรงกลัว กองทัพมอญที่ตามมามีมากขึ้น ตีโอบล้อมกองทัพไทย ฝ่ายไทยกำลังน้อยกว่า กระจายออกรับไม่ไหว จึงต้องถอย
ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรและพระเอกาทศรถก็ทรงเตรียมกำลังทหารไว้อย่างพร้อมเพรียงตั้งแต่ยังไม่สว่าง จนแสงเงินแสงทองจับขอบฟ้า

 

ตอนที่ 8 ทัพหน้าไทยถอยไม่เป็นกระบวน

ขณะที่พราหมณ์ผู้ทำพิธีและผู้ชำนาญไสยศาสตร์ ทำพิธีเบิกประตูป่าและพิธีละว้าเซ่นไก่ หลวงมหาวิชัยรับพระแสงดาบอาญาสิทธิ์ ไปทำพิธีตัดไม้ข่มนามตามไสยศาสตร์ สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงสดับเสียงปืนซึ่งไทยกับมอญกำลังยิงต่อสู้กันอยู่ แต่เสียงนั้นอยู่ไกลฟังไม่ถนัด จึงรับสั่งให้หมื่นทิพเสนารีบไปสืบข่าว หมื่นทิพเสนาขึ้นม้าไปอย่างรวดเร็ว ถึงกองทัพไทยที่กำลังล่าถอย รับพลางถอยพลาง มอญตามมาอย่างกระชั้นชิด หมื่นทิพเสนาได้นำขุนหมื่นผู้หนึ่งมาเฝ้าสมเด็จพระนเรศวร ขุนหมื่นผู้นั้นกราบทูลว่า เมื่อเวลา 7 นาฬิกา ทัพไทยได้ปะทะกับทัพมอญที่ตำบลโคกเผาข้าว ทัพไทยต้องถอยร่นอยู่ตลอดเวลา เพราะกำลังข้าศึกมีมากกว่า สมเด็จพระนเรศวรจึงตรัสปรึกษาแม่ทัพนายกองว่าควรคิดหาอุบายแก้ไขการศึกษา อย่างไร บรรดาแม่ทัพนายกองกราบทูลขอให้พระองค์ส่งทัพไปยันไว้ ให้ข้าศึกอ่อนกำลังลงก่อนจึงเสด็จยกทัพหลวงออกต่อสู้ภายหลัง สมเด็จพระนเรศวรตรัสตอบว่า “ทัพไทยกำลังแตกพ่ายอยู่ ถ้าจะส่งทัพไปต้านทานอีก ก็จะพลอยแตกอีกเป็นครั้งที่ 2 ควร ที่ล่าถอยลงมาโดยไม่หยุดยั้ง เพื่อลวงข้าศึกให้ละเลิงใจ ยกติดตามมาไม่เป็นขบวนพอได้ทีให้ยกกำลังส่วนใหญ่ออกโจมตี ก็คงจะได้ชัยชนะอย่างง่ายดาย” แม่ทัพนายกองเห็นชอบ ด้วยกับพระราชดำรินั้น สมเด็จพระนเรศวรจึงมีรับสั่งให้หมื่นทิพเสนากับหมื่นราชามาตย์ไปแจ้งทัพหน้า ของไทยให้ล่าถอยโดยเร็ว ทัพหน้าไทยจึงรีบถอยร่น ทัพพม่าไม่รู้กลอุบายก็รุกไล่ตามจนเสียกระบวน

ตอนที่ 9 ทัพหลวงเคลื่อนพล ช้างทรงพระนเรศวรและพระเอกาทศรถฝ่าเข้าไปในกองทัพข้าศึก

ขณะสมเด็จพระนเรศวรประทับบนเกย เพื่อรอพิชัยฤกษ์เคลื่อนทัพหลวง ได้บังเกิดเมฆก้อนใหญ่เย็นเยือกลอยอยู่ทางทิศ พายัพ แล้วก็กลับแลดูท้องฟ้าแจ่มกระจ่าง ดวงอาทิตย์ส่องแสงจ้าโดยไม่มีอะไรบดบัง อันเป็นนิมิตที่แสดงพระบรมเดชานุภาพและชี้ให้เห็นความมีโชคดี สมเด็จพระนเรศวรและพระเอกาทศรถทรงเคลื่อนพลตาม เกล็ดนาค ตามตำราพิชัยสงคราม จนปะทะเข้ากับกองทัพข้าศึก ช้างพระที่นั่งทั้งสอง คือ พระเจ้าไชยานุภาพ และ เจ้าพระยาปราบไตรจักร ได้สดับเสียง ฆ้อง กลอง และเสียงปืนของข้าศึก ก็ส่งเสียงร้องด้วยความคึกคะนอง เพราะกำลังตกมัน ควาญบังคับไว้ไม่อยู่ มันวิ่งไปโดยเร็ว จนทหารในกองตามไม่ทัน มีแต่กลางช้างและควาญช้างสี่คนเท่านั้นที่ตามเสด็จไปด้วยจนเข้าไปใกล้กอง หน้าของข้าศึก ช้างศึกได้กลิ่น มัน ก็พากันตกใจหนีไปปะทะกับพวกที่ตามมาข้างหลัง ช้างทรงไล่แทงช้างของข้าศึกอย่างเมามัน ทหารพม่าล้มตายเป็นจำนวนมาก ข้าศึกยิงปืนเข้าใส่ แต่ไม่ถูกช้างทรง การต่อสู้เป็นแบบตะลุมบอนจนฝุ่นตลบมองหน้ากันไม่เห็น เหมือนกับเวลากลางคืน สมเด็จพระนเรศวรจึงตรัสประกาศแด่เทวดาทั้งหลายบนสวสรรค์ทั้งหกชั้น และพรหมทั้งสิบหกชั้นว่า ที่ให้พระองค์ท่านมาประสูตรเป็นพระมหากษัตริย์ครองราชย์สมบัติก็ด้วยหวังจะ ให้ทะนุบำรุงศาสนา และพระรัตนตรัยให้เจริญรุ่งเรือง เหตุใดเล่าเทวดาจึงไม่บันดาลให้ท้องฟ้าสว่างมองเห็นข้าศึกได้ชัดเจน พอดำรัสจบไม่นานก็เกิดพายุใหญ่พัดหอบเอาฝุ่นและควันหายไป ท้องฟ้าสว่างดังเดิม มองเห็นสนามรบได้ชัดเจน พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นพระมหาอุปราชาทรงช้างประทับยืนอยู่ใต้ต้นไม้ข่อย มีทหารห้อมล้อมและตั้งเครื่องสูงครบครัน ทั้งสองพระองค์ทรงไสช้างเข้าไปหาด้วยพระพักตร์ที่ผ่องใสไม่เกรงกลัวแม้แต่น้อย ข้าศึกยิงปืนไฟเข้ามาแต่ก็มิได้ต้องพระองค์เลย

ตอนที่ 10 ยุทธหัตถี และชัยชนะของไทย
สมเด็จพระนเรศวรทรงมีพระราชดำรัสอันไพเราะไม่มีสุรเสียงขุ่นแค้นพระทัยเลยแม้แต่น้อยว่า “ ผู้ทรงเป็นใหญ่แห่งประเทศมอญ พระเกียรคิยศเลื่องลือไปไกลทั่วทั้งสิบทิศ ข้าศึกได้ยินก็เกรงพระบรมเดชานุภาพ ไม่กล้าสู้รบพากันหนีไป พระเจ้าผู้พี่ปกครองประเทศอันบริบูรณ์ยิ่ง เป็นการไม่สมควรเลยที่พระเจ้าพี่ประทับอยู่ใต้ร่มไม้ เชิญพระองค์เสด็จมาร่วมทำยุทธหัตถีร่วมกัน เพื่อแสดงเกียรคิไว้ให้เป็นที่ปรากฏ ต่อจากเราทั้งสองจะไม่มีอีกแล้ว
การ รบด้วยการชนช้างจะถึงที่สุดเพียงนี้ ต่อไปจะไม่ได้ไม่พบอีก การที่กษัตริย์ทำยุทธหัตถีกัน ก็คงมีแต่เราสองพี่น้อง ตราบชั่วฟ้าดินสลาย การทำยุทธหัตถีก็เปรียบประดุจการเล่นที่รื่นเริงของกษัตริย์เพื่อให้ชมเล่นเป็นขวัญตาแก่มนุษย์จนถึงเมืองสวรรค์ ขอทูลเชิญเทวดาและพรหมทั้งปวงมาประชุมในสถานที่นี้เพื่อชมการยุทธหัตถี ผู้ใดเชี่ยวชาญกว่า ขอทรงอวยพรให้ผู้นั้นรับชัยชนะ  หวัง จะให้พระเกียรติยศในการรบครั้งนี้ดำรงอยู่ชั่วฟ้าดิน ว่ากษัตริย์ทั้งสองพระองค์ได้กระทำสงครามกัน ใครรู้เรื่องก็จะได้ยกย่องสรรเสริญกันตลอดไป ” เมื่อสมเด็จพระนเรศวรได้ตรัสพรรณนาดังนั้น พระมหาอุปราชาได้ทรงสดับก็บังเกิดขัตติยะมานะกล้าหาญขึ้น รีบไสช้างเข้าต่อสู้โดยเร็วด้วยความกล้าหาญ   ช้าง ทรงของผู้เป็นใหญ่ทั้งสองพระองค์ เปรียบเหมือนช้างเอราวัณและช้างคิรีเมขล์อันเป็นพาหนะของวัสวดีมาร ต่างส่ายเศียรและหงายงาโถมแทงอยู่ขวักไขว่  สอง กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่งามเลิศล้ำน่าชมยิ่งหนัก ประหนึ่งพระอินทร์และไพจิตราสูรทำสงครามกัน หรือไม่ก็เหมือนกับพระรามรบกับทศกัณฐ์ กษัตริย์อื่นในทุกประเทศและทุกทิศไม่เสมอเหมือน กษัตริย์ แห่งกรุงสยามก็สามารถต้านพระมหาอุปราชาได้ ทั้งสองไม่ทรงเกรงกลัวกันเลย และไม่ได้ลดความห้าวหาญลงแม้แต่น้อย พระหัตถ์ก็ยกพระแสงของ้าวขึ้นกวัดแกว่งตามแบบฉบับ  ช้าง ทรงของสมเด็จพระนเรศวรโถมเข้าใส่ไม่ทันตั้งหลักยั้งตัว ช้างทรงของพระมหาอุปราชาได้ล่างใช้งาทั้งคู่ค้ำคางเจ้าพระยาไชยานุภาพแหงน สูงขึ้น จึงได้ทีถนัด พระมหาอุปราชาเห็นเป็นโอกาส จึงเงื้อพระแสงของ้าวจ้วงฟันอย่างแรงราวกับจักรหมุน แต่สมเด็จพระนเรศวรทรงเบี่ยงพระมาลาหลบพร้อมกับใช้พระแสงของ้าวปัดเสียทัน อาวุธของพระมหาอุปราชาจึงไม่ถูกพระองค์ ทันใดนั้นช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรเบนสะบัดได้ล่าง จึงใช้งางัดคอช้างของพระมหาอุปราชาจนหงาย ช้างของพระมหาอุปราชาเสียท่าต้องถอยหลังพลาดท่าในการรบ สมเด็จพระนเรศวรจึงทรงเงื้อพระแสงของ้าวฟันถูกพระมหาอุปราชาที่พระอังสาขวา ขาดสะพายแล่ง พระอุระของพระมหาอุปราชาถูกฟันจนเป็นรอยแยก พระวรกายก็เอนซบอยู่บนคอช้างเป็นที่น่าสลดใจ สิ้นพระชนม์แล้วได้ไปสถิตในแดนสวรรค์   ควาญ ช้างของสมเด็จพระนเรศวร คือ นายมหานุภาพก็ถูกปืนข้าศึกเสียชีวิต ส่วนสมเด็จพระเอกาทศรถได้ทำยุทธหัตถีกับ มางจาชโร (พระพี่เลี้ยงของพระมหาอุปราชา) พระเอกาทศรถได้ใช้พระแสงของ้าวฟันถูกมางจาชโรตายซบอยู่บนหลังพลายพัชเนียร นั่นเอง และกลางช้างของพระเอกาทศรถ คือ หมื่นภักดีศวรก็ถูกปืนข้าศึกตาย ทั้งสองพระองค์รบกับข้าศึกในครั้งนี้ด้วยพระบรมเดชานุภาพ เพราะมีแค่ทหารสี่คนและพระองค์ทั้งสองเท่านั้น พระเกียรติจึงแผ่ไปไกล ทหารที่ติดตามไปตายสองและรอดกลับมาสอง กอง ทัพไทยติดตามมาทันเมื่อพระมหาอุปราชาขาดคอช้างแล้ว ต่างก็รีบเข้ามาช่วยรบ ฆ่าฟันทหาร พม่า มอญ ไทยใหญ่ ลาว เชียงใหม่ ตายลงจำนวนมากเหลือคณานับ ที่เหลือบุกป่าฝ่าดงหนีไป ทั้งนี้เป็นพระบรมเดชานุภาพของพระองค์โดยแท้

ตอนที่ 11 พระนเรศวรทรงสร้างสถูปและปูนบำเหน็จทหาร

สมเด็จพระนเรศวรมีรับสั่งให้สร้างสถูปสวมทับที่พระองค์ทรงทำยุทธหัตถี ณ ตำบลตระพังตรุ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสืบต่อไป  เสร็จ ศึกยุทธหัตถีแล้ว สมเด็จพระนเรศวรโปรดให้เจ้าเมือง มล่วน รวมทั้งควาญช้างกลับ ไปแจ้งข่าวการแพ้สงครามและการสิ้นพระชนม์ของพระมหาอุปราชาแก่พระเจ้าหงสาวดี แล้วพระองค์ก็ยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา ชื่อเสียงของกรุงศรีอยุธยาก็ลือเลื่องไปทั้งแผ่นดิน จากนั้นก็ทรงปรารภเรื่องการพระราชทานความดีความชอบแก่ พระยารามราฆพ ( กลางช้างของพระนเรศวร ) และ ขุนศรีคชคง ( ควาญช้างของพระเอกาทศรถ ) โดยพระราชทานบำเหน็จ เครื่องอุปโภค เงิน ทอง ทาส และเชลยให้แล้วก็พระราชทานบำนาญแก่บุตรภรรยาของ นายมหานุภาพ และ หมื่นภักดีศวร ที่เสียชีวิตในสงครามให้สมกับความดีความชอบและที่มีความภักดีต่อพระองค์ ต่อมาก็ทรงปรึกษาโทษแม่ทัพนายกองที่ตามเสด็จไม่ทันตามกฎของพระอัยการศึกว่า ในการที่ข้าศึกยกทัพเข้ามาเหยียบแดนถึงชานพระนคร พระองค์และพระเอกาทศรถทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทำนุบำรุงเหล่าสมณพราหมณ์และ ประชาราษฎรมิได้ย่อท้อต่อความยากลำบาก ทรงพระราชอุตสาหะเสด็จออกไปปราบอริราชศัตรู แต่แม่ทัพนายกองทั้งปวงกลับกลัวข้าศึกยิ่งกว่าพระอาญา ไม่พยายามยกไปรบให้ทัน ปล่อยให้ทั้งสองพระองค์ทรงช้างพระที่นั่งฝ่าเข้าไปท่ามกลางข้าศึกตามลำพัง จนถึงได้กระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะ ลูกขุนได้เชิญกฎพระอัยการออกค้นดู เห็นว่าจะได้รับโทษถึงประหารชีวิต แต่เนื่องจากใกล้วัน 15 ค่ำ ( บัณรสี ) จึงทรงพระกรุณางดโทษไว้ก่อน ต่อวันหนึ่งค่ำ (ปาฏิบท) จึงให้ลงโทษประหาร

ตอนที่ 12 สมเด็จพระวันรัตขอพระราชทานอภัยโทษ

ยังไม่พ้นเวลาที่สมเด็จพระนเรศวรทรงกำหนดไว้ พอถึงวันแรม 15 ค่ำ เวลาประมาณ 8 นาฬิกาเศษ สมเด็จพระวันรัตวัดป่าแก้ว กับพระราชาคณะ 25 องค์ สองแผนก คือ ฝ่ายคามวาสี และ อรัญวาสี พากันไปยังพระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระนเรศวรรับสั่งให้นิมนต์เข้าไปในท้องพระโรง สมเด็จพระนเรศวรทรงประนมพระหัตถ์แสดงคารวะ พระวันรัตได้ทูลถามข่าวที่สมเด็จพระนเรศวรทำยุทธหัตถีจนพระมหาอุปราชาขาดคอ ช้าง เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงเล่าจบ พระวันรัตกราบทูลว่า พระมหาบพิตรพระราชสมภารเจ้าทรงได้รับชัยชนะ เหตุใดเล่าเหล่าบริพารจึงต้องโทษ ได้ยินแล้วที่สงสัย สมเด็จพระนเรศวรจึงตรัสต่อไปว่า แม่ทัพนายกองทั้งปวงซึ่งได้รับเกณฑ์เข้าในกองทัพ เมื่อเห็นข้าศึกก็ตกใจกลัว ยิ่งกว่ากลัวพระองค์ซึ่งเป็นเจ้านาย ไม่ตามเสด็จให้ทัน ปล่อยให้พระองค์สองพี่น้องเข้าสู้รบท่ามกลางข้าศึกจำนวนมากจนมีชัยชนะรอดพ้น ความตายจึงได้มาดูหน้าพวกทหารเหล่านั้น ทั้งนี้เพราะคุณความดียิ่งใหญ่ที่ได้ทำนุบำรุงบ้านเมืองไว้คอยอุดหนุนพระบรม เดชานุภาพของพระองค์สองพี่น้อง ถ้าไม่ได้ความดีแต่เก่าแล้ว ประเทศไทยจะต้องสิ้นอำนาจเสียแผ่นดินแก่กรุงหงสาวดีเป็นการเสื่อมเสีย เกียรติยศ จึงควรลงโทษถึงตายตามพระอัยการศึกเพื่อให้เป็นตัวอย่างมิให้คนอื่นเอาเยี่ยง อย่างสืบไป สมเด็จพระวันรัตจึงกราบทูลว่า “ บรรดา ข้าทูลละอองธุลีพระบาทล้วนมีความจงรักภักดี เป็นการผิดแปลกไปจากแบบแผนแต่ก่อนที่ว่าไม่จงรักยำเกรงพระองค์ ทั้งนี้เพราะพระบรมเดชานุภาพสำแดงให้ปรากฏแก่ปวงชนเป็นที่น่าอัศจรรย์จึง บันดาลให้เป็นเช่นนั้น
สมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า ( พระตรีโลกนาถ ) ทรงชนะพระยามารลำพังพระองค์เอง เช่นเดียวกับสมเด็จพระนเรศวร พระเอกาทศรถ เสด็จไปปราบอริราชศัตรูจนแพ้พ่ายโดยปราศจากไพร่พล พระเกียรติยศจึงเลื่องลือกึกก้องไปทั่วทุกแห่งหน หากมีทหารล้อมมากมายถึงเอาชนะได้
พระ เกียรติยศก็ไม่ฟุ้งเฟื่องเพิ่มพูนขึ้น และกษัตริย์ทั้งหลายก็จะไม่พากันออกพระนามเอิกเกริกกันเช่นนี้ ขอพระองค์ทั้งสองอย่าได้โทมนัสน้อยพระทัยไปเลย ทั้งนี้เพราะเพื่อราชกฤฎาภินิหารของพระองค์ ทวยเทพทั้งหลายจึงบันดาลให้เป็นไปดังนั้น ขอมหาบพิตรทั้งสองพระองค์ อย่าได้ทรงขุ่นแค้นพระทัยไปเลย ทั้งนี้เป็นไปตามที่กราบทูลทุกประการ ”

สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงฟังพระวันรัตถวายวิสัชนาบรรยายโดยพิสดารโดยวิธีเปรียบเทียบ กับกฤฎาภินิหารแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ทรงปราโมทย์ ออกพระโอษฐ์สาธุถวายนมัสการแล้วตรัสว่า พระวันรัตกล่าวคำน่าขอบใจ ทุกสิ่งที่ชี้แจงสมควรและเป็นจริงไม่สงสัยแม้แต่น้อย
พระ วันรัตเห็นว่าทรงคลายกริ้วแม่ทัพนายกองแล้ว จึงกล่าวถวายพระพรให้พระองค์ปราศจากทุกข์ภัยอันตรายทั้งปวง แล้วกราบทูลต่อไปว่า แม่ทัพนายกองเหล่านี้มีความผิดรุนแรง ควรได้รับโทษทั้งโคตร แต่เคยได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณมาแต่ก่อนนับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระมหา จักรพรรดิพระบรมราชอัยกา และสมเด็จพระมหาธรรมราชาพระราชบิดา จนล่วงถึงสมเด็จพระนเรศวรได้ขึ้นครองราชสมบัติ เปรียบได้กับพุทธบริษัททั้งปวง ช่วยกันดำรงพระพุทธศาสนาต่อมา ขอให้พระองค์ทรงงดโทษประหารชีวิตแม่ทัพนายกองไว้สักครั้งหนึ่ง เพื่อจะได้เป็นกำลังส่งเสริมพระบรมเดชานุภาพ เมื่อศึกสงครามเกิดขึ้นอีก เขาเหล่านั้นจะคิดแก้ตัว หาความดีความชอบเพื่อเพิ่มพูนพระบารมีให้แผ่ไปทั่วบ้านเมืองชองพระองค์เป็นแน่ สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงสดับ ข้อความของพระวันรัตที่ทูลขออภัยบรรดาแม่ทัพนายกองทั้งปวง ก็ทรงพระกรุณาที่ว่าบุคคลเหล่านี้ยังจงรักภักดีต่อพระองค์อยู่ จึงพระราชทานอภัยโทษตามคำทูลของพระวันรัต แต่ทรงเห็นสมควรที่จะใช้ให้ไปตีเมืองตะนาวศรี ทวาย และ มะริด เป็นการชดเชยควา

การร้อยเรียงประโยค


การร้อยเรียงประโยค
การแสดงความคิดเพื่อสื่อสารกันนั้น บางโอกาสผู้ส่งสารใช้ประโยคที่ผูกขึ้นให้รัดกุมและถูกต้องตามระเบียบของภาษาเพียงประโยคเดียวก็สื่อความหมายได้ชัดเจนเช่น คำขวัญที่ว่า ตัวตายดีกว่าชาติตายหลักการร้อยเรียงประโยคและวิธีวิเคราะห์การร้อยเรียงประโยคนักเรียนต้องมีความรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบของประโยค    ลำดับคำในประโยค   ความยาวของประโยคและเจตนาของผู้ส่งสารในประโยค
ส่วนประกอบของประโยค
ประโยคมีส่วนประกอบสำคัญ ๒ ส่วนคือ ภาคประธานและภาคแสดง เช่นผู้หญิงชอบน้ำหอม
ภาคประธาน
ภาคแสดง
ผู้หญิง
ชอบน้ำหอม
โดยปกติ ภาคประธานเป็นส่วนที่ผู้ส่งสารมักกล่าวถึงก่อน  ส่วนภาคแสดงนั้นเป็นส่วนที่บอกว่าสิ่งที่กล่าวถึงนั้นทำอะไร  อยู่ในสภาพใด หรือเป็นอะไร ผู้พูดอาจเพิ่มรายละเอียดเข้าไปในประโยคโดยเพิ่มคำบางคำ เช่น  ผู้หญิงคนนั้นชอบน้ำหอมราคาแพง  หรืออาจเพิ่มประโยคเข้าไปทั้งประโยคทำให้มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น เช่น ผู้หญิงที่อยู่ในห้องสีขาวชอบน้ำหอมที่มีราคาแพงจากต่างประเทศ  ประโยคที่เพิ่มขึ้นอาจสัมพันธ์กับประโยคเดิมโดยมีคำเชื่อม และ  ถ้า  แต่ หรือ  จึง ฯลฯ
เช่น  ผู้หญิงชอบน้ำหอมส่วนผู้ชายชอบโคโลญจน์ 
ประโยคบางคู่ ประธานและ/หรือ  กรรมหรือกริยา  หรือส่วนขยายต่างกัน  เช่น
                ๑.            ก.   เขาฟังเพลงอย่างตั้งใจ
                                ข.   เขาฟังเพลงด้วยความตั้งใจ
                ๒.          ก.  หลักเกณฑ์การให้คะแนนมีมาก
                                ข. การให้คะแนนมีหลักเกณฑ์มาก
                ๓.          ก. แม่ชมเชยเขามาก
                                ข.  เขาได้รับการชมเชยจากแม่มาก
ตัวอย่างที่ ๑ ประโยค ก และ ข ต่างกันที่ส่วนขยาย      
ตัวอย่างที่ ๒  ประธานของประโยค ก กับประโยค ข  ต่างกัน และประโยค ก ไม่มีกรรม  ประโยค ข มีกรรม
ตัวอย่างที่ ๓  ประธาน  กริยา  กรรม ของประโยค ก กับประโยค ข ต่างกัน  
                ประโยคบางคู่ มีความซับซ้อนต่างกัน เช่น
                ๑.           ก.  เขาไม่ซื้อของถูก
                   ข. เขาไม่ซื้อของที่มีราคาถูก
                ๒.         ก. เรื่องนี้ทุกคนรู้อยู่แล้ว
                                ข. เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทุกคนรู้อยู่แล้ว
                ประโยค ก ในตัวอย่างที่ ๑ และสองมีคำจำกัดความหมายคือ  ถูก  และ  นี้ ส่วนประโยค ข ใน ตัวอย่างที่ ๑ และ ๒ มีประโยคช่วยจำกัดความหมายคือ  ที่มีราคาถูก  และที่ทุกคนรู้อยู่แล้ว
                ในบางกรณีผู้พูดอาจแสดงความคิดอย่างเดียวกันโดยใช้ประโยคหลาย ๆ ประโยคก็ได้  หรือรวมประโยคเหล่านั้นเข้าด้วยกันโดยใช้คำเชื่อมก็ได้ หรือทำให้กลายเป็นส่วนประกอบของอีกประโยคหนึ่งก็ได้
                ลำดับคำในประโยค
                การเรียงลำดับคำในภาษาไทยมีความสำคัญมาก เพราะถ้าลำดับคำต่างกันความสัมพันธ์ของคำในประโยคอาจผิดไป ทำให้ความหมายของประโยคเปลี่ยนไปได้ เช่น ฉันช่วยเธอ  และ เธอช่วยฉัน ผู้ทำและผู้ถูกกระทำจะต่างกัน ประโยคบางประโยคที่เปลี่ยนลำดับคำแล้วมีความหมายเปลี่ยนไปน้อยมากเช่น  เขาเป็นญาติกับตุ้ม  และตุ้มเป็นญาติกับเขา บางประโยคอาจเปลี่ยนลำดับคำที่หลากหลายโดยที่ความหมายยังคงเดิมเช่น
                เขาน่าจะได้พบกับเธอที่บ้านคุณพ่อคุณอย่างช้าพรุ่งนี้
                เธอน่าจะได้พบกับเขาที่บ้านคุณพ่อคุณอย่างช้าพรุ่งนี้
                พรุ่งนี้อย่างช้าเธอน่าจะได้พบกับเขาที่บ้านคุณพ่อคุณ
จะพบว่าทุกประโยคสื่อความหมายอย่างเดียวกันทำให้ทราบว่าผู้พบกันคือ เขากับเธอ สถานที่ที่พบคือ  บ้านคุณพ่อคุณ  และเวลาที่พบคือ  พรุ่งนี้เป็นอย่างช้า
                ความยาวของประโยค
                ประโยคอาจมีความแตกต่างกันที่ความสั้นยาว  ประโยคจะยาวออกไปได้เมื่อผู้พูดเพิ่มราละเอียดให้มากขึ้น รายละเอียดที่เพิ่มขึ้นอาจเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่  เวลาที่เกิดเหตุการณ์  ต้นเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ ฯลฯ นอกจากนั้นอาจเพิ่มความยาวของประโยคโดยหาคำขยายคำนามหรือกริยาในประโยคก็ได้
                เจตนาของผู้ส่งสาร
                เราอาจแบ่งประโยคตามเจตนาของผู้ส่งสารที่แสดงในประโยค ๆด้เป็น ๓ ประเภทคือ
                ๑.ประโยคแจ้งให้ทราบ  คือประโยคที่ผู้พูดบอกกล่าวหรือแจ้งเรื่องราวบางประการให้ผู้ฟังทราบ  หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าประโยคบอกเล่า เช่น  นักเรียนบางคนชอบร้องเพลง  ถ้าประโยคแจ้งให้ทราบ        มีเนื้อความปฏิเสธ ก็จะมีคำปฏิเสธ เช่น  ไม่  มิ  หามิได้  อยู่ด้วยดังประโยค  นักเรียนบางคนไม่ชอบร้องเพลง 
                ๒.ประโยคถามให้ตอบ  คือ  ประโยคที่ผู้พูดใช้ถามเรื่องราวบางประการเพื่อให้ผู้ฟังตอบสิ่งที่ผู้พูดอยากรู้ หรือเรียกอีกอย่างว่าประโยคคำถาม ถ้าประโยคคำถามมีเนื้อความปฏิเสธ ก็จะมีคำปฏิเสธอยู่ด้วย
เช่น  ใครอยากไปเที่ยวบ้าง   เนื้อความปฏิเสธ    ใครไม่อยากไปเที่ยวบ้าง
                ๓.ประโยคบอกให้ทำ คือ  ประโยคที่ผู้พูดใช้เพื่อให้ผู้ฟังกระทำอาการบางอย่างตามความต้องการของผู้พูด เรียกว่าประโยคบอกให้ทำ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าประโยคคำสั่งหรือขอร้อง   ประธานของประโยคบอกให้ทำบางทีก็ไม่ปรากฏประธาน ถ้าผู้พูดต้องการเน้นคำกริยา และท้ายประโยคบอกให้ทำมักจะมีคำอนุภาค เช่น ซิ  นะ  เถอะ
หลักทั่วไปในการร้อยเรียงประโยค

ประโยคที่ร้อยเรียงกันอยู่นั้น  ทั้งเนื้อความและลักษณะของถ้อยคำในประโยคจะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องต่อเนื่องกัน  เนื้อความในประโยคคือความคิดของผู้นำเสนอ  จะต้องมีลำดับและมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  หรือที่เรียกเป็นศัพท์เฉพาะทางวิชาการว่ามีเอกภาพ  ส่วนลักษณะถ้อยคำที่ทำให้ประโยคเกี่ยวข้องต่อเนื่องกันอาจเกิดจากวิธีต่าง ๆ ได้แก่  การเชื่อม  การแทน  การละและ การซ้ำ

การเชื่อม
การเชื่อมประโยคให้ต่อเนื่องกัน อาจใช้คำเชื่อมหรือเรียกว่า คำสันธาน หรือใช้กลุ่มคำเชื่อม หรือที่เรียกว่า สันธานวลี  ประกอบด้วย ข้อต่าง ๆดังนี้
๑. คำสันธานบางคำและสันธานวลีบางวลีแสดงว่า ประโยคหน้าและประโยคหลังมีเนื้อความ   คล้อยตามกัน เช่น  และ  ทั้ง  อนึ่ง  อีกประการหนึ่ง อีกทั้ง  รวมทั้ง  ตัวอย่างเช่น    ฉันตัดสินใจเรียนหนังสือและทำงานไปด้วย
๒. คำสันธานบางคำและสันธานวลีบางวลีแสดงว่า ประโยคหน้าและประโยคหลังมีเนื้อความขัดแย้งกัน เช่น  แต่  แต่ทว่า  แม้  แม้แต่  แม้ว่า  ตัวอย่างเช่น  ตำรวจรู้ตัวผู้กระทำผิดแล้ว แต่ ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอ
๓. คำสันธานบางคำและสันธานวลีบางวลีแสดงว่า ประโยคหน้าและประโยคหลังมีเนื้อความให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น  หรือ  หรือไม่ก็ ตัวอย่างเช่น  เธอจะอยู่กับเขาหรือเธอจะไปกับฉัน
๔. คำสันธานบางคำและสันธานวลีบางวลีแสดงว่าประโยคหน้าและประโยคหลังมีเนื้อความเป็นเหตุเป็นผลกัน เช่น จึง  เลย  จน  จนกระทั่ง ตัวอย่างเช่น             เขาทำงานอย่างหนักสุขภาพจึงทรุดโทรม
๕. คำสันธานบางคำและสันธานวลีบางวลีแสดงว่าประโยคหน้าและประโยคหลังมีเนื้อความเกี่ยวข้องกันทางเวลา  เช่น  แล้ว  แล้วจึง  และแล้ว  ต่อจากนั้น  ต่อมา ตัวอย่างเช่น  เขามางานเลี้ยงในตอนเช้าต่อจากนั้นตอนบ่ายเขาก็กลับบ้าน
 ๖.คำสันธานบางคำและสันธานวลีบางวลีแสดงว่าประโยคหน้าและประโยคหลังมีเนื้อความเกี่ยวข้องกันในแง่ที่เป็นเงื่อนไข เช่น ถ้า   ถ้า...แล้ว   แม้ว่า  หากว่า  เมื่อ...ก็   หาก...ก็   ตัวอย่างเช่น  ถ้าเรามีความขยันอย่างแท้จริงเราก็ไม่สอบตก







การซ้ำ
หากประโยค ๒ ประโยค มีส่วนกล่าวถึงบุคคล  สิ่ง  เหตุการณ์  การกระทำหรือสภาพเดียวกัน  ประโยคทั้งสองมักจะมีคำหรือวลีที่หมายถึงบุคคล  สิ่ง  เหตุการณ์  การกระทำหรือสภาพนั้น ๆ ปรากฏซ้ำ ๆ การซ้ำคำหรือวลีจึงแสดงความเกี่ยวข้องของประโยคได้ เช่น 
ฉันวางกระเป๋ากับร่มไว้บนโต๊ะ ประเดี๋ยวเดียวกระเป๋าหายไปแล้วร่มยังอยู่
ประโยคหน้าและประโยคหลังกล่าวถึงสิ่งเดียวกันคือ กระเป๋ากับร่มจึงมีคำ กระเป๋ากับร่มซ้ำกัน
หมายเหตุ
๑. ในกรณีที่มีคำซ้ำกันเช่นนี้ คำที่ซ้ำอาจมีคำวิเศษณ์บอกความชี้เฉพาะ(นิยมวิเศษณ์) นี้  นั้น  โน้น  นี่  นั่น  มาขยาย เพื่อชี้เฉพาะว่าเป็นสิ่งที่กล่าวถึงไปแล้ว  เช่น
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของไทยคือบริเวณเมืองอู่ทอง  ในจังหวัดสุพรรณบุรี  นักโบราณคดีหลายท่านเชื่อว่าบริเวณนี้  น่าจะเป็นศูนย์กลางดั้งเดิมของอาณาจักรฟูนัน
ประโยคหน้าและประโยคหลังกล่าวถึงสิ่งเดียวกัน คือบริเวณนี้เป็นแหล่งโบราณคดี  จึงมีคำว่า บริเวณ ซ้ำกันและมีคำ  นี้  ขยายบริเวณ ในประโยคหลังเพื่อช่วยระบุว่าเป็นบริเวณเดียวกันกับที่กล่าวในประโยคแรก
๒. หากคำวิเศษณ์บอกความชี้เฉพาะใช้ขยายคำในประโยคหน้าอยู่แล้ว คำที่อยู่ในประโยคหลังมักจะไม่มีคำวิเศษณ์บอกความชี้เฉพาะขยาย เช่น
เด็กคนนี้ มูลนิธิรับผิดชอบค่าเล่าเรียนแม่ของเด็กรับผิดชอบค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
ประโยคหน้าและประโยคหลังมีส่วนกล่าวถึงคนคนเดียวกันและการกระทำเดียวกันจึงมีคำนาม เด็กซ้ำกัน คำว่านี้ขยายคำว่า เด็ก ในประโยคหน้าอยู่แล้วจึงไม่ใช้ในประโยคหลังและมีคำกริยา รับผิดชอบซ้ำกัน
๓. คำที่ขยายคำที่ซ้ำกันนั้น นอกจากคำวิเศษณ์บอกความชี้เฉพาะแล้ว อาจมีคำชนิดอื่นอีกบ้าง
การละ
ในบางกรณีเมื่อประโยคหน้าและประโยคหลังมีส่วนกล่าวถึงบุคคล สิ่ง เหตุการณ์ การกระทำ หรือสภาพเดียวกัน อาจไม่จำเป็นต้องกล่าวซ้ำ   เช่น
คนขับรถ  กระโดดลงจากรถ  ฉวยกระเป๋าได้  รีบเดินเข้าบ้าน
ประโยคหน้าและประโยคต่อ ๆไป กล่าวถึงบุคคลเดียวกัน คือ คนขับรถ คำนาม คนขับรถเป็นประธานในประโยคหลังด้วยแต่ละไว้
การแทน
ในกรณีที่ผู้พูดหรือผู้เขียนไม่ต้องการใช้วิธีซ้ำหรือวิธีละเมื่อกล่าวถึงบุคคล สิ่ง เหตุการณ์ การกระทำ หรือสภาพเดียวกัน ก็อาจใช้วิธีนำคำหรือวลีอื่นมาแทน การใช้คำหรือวลีอื่นมาแทนจึงแสดงความเกี่ยวเนื่องกันของประโยค เช่น
ลูกชายของหญิงชรา  จากบ้านไปนานแล้ว  เขา อาจเสียชีวิตไปแล้วก็ได้
ประโยคหน้าและประโยคหลังกล่าวถึงบุคคลคนเดียวกันคือ ลูกชายของหญิงชรา   คำสรรพนาม เขา ในประโยคหลัง หมายถึง ลูกชายของหญิงชรา  ที่กล่าวถึงในประโยคหน้า
วิเคราะห์การร้อยเรียงประโยค
วิธีทำให้ประโยคเกี่ยวข้องกันทั้งการเชื่อม  การซ้ำ  การละ และการแทนดังที่กล่าวมาข้างต้น อาจนำไปวิเคราะห์ข้อเขียนที่ปรากฏในที่ต่าง ๆได้ การวิเคราะห์จะทำให้เราเข้าใจความหมายของข้อเขียนอย่างแจ่มแจ้ง และยังเป็นแนวทางในการฝึกทักษะการร้อยเรียงประโยคด้วย
ตัวอย่าง 
ลีซอ เป็นชาวเขาที่มีบุคลิกภาพงดงาม  มีผิวกายค่อนข้างขาว มีร่างระหงและใบหน้าเป็นรูปไข่  ชาวเขาเผ่านี้  ยังชีพด้วยการปลูกข้าว  ปลูกข้าวโพด  และฝิ่น  ลีซอ  ส่วนใหญ่ไม่สูบฝิ่น ในบรรดาหนุ่มลีซอนั้น หาคนติดฝิ่นแทบไม่ได้เลย
ประโยคแรกกล่าวถึงชาวเขาเผ่าลีซอ  ประโยคที่เหลือทั้งหมดมีเนื้อความเกี่ยวกับชาวเขาเผ่านี้  แต่ประโยคที่ ๒ และ ๓ ใช้วิธีไม่เอ่ยชื่อ  ประโยคที่ ๔ ใช้วลี  ชาวเขาเผ่านี้  แทน  ประโยคที่ ๕ ใช้การซ้ำคำว่า ลีซอ  และประโยคที่ ๖ ใช้วลี หนุ่มลีซอนั้น เพื่อจำกัดความหมายให้แคบเข้าว่าหมายถึงเฉพาะชายหนุ่มเผ่าลีซอเท่านั้น

คำและความหมาย

ความหมายของคำ
           คำ ไทยเป็นสิ่งสำคัญในการใช้ติดต่อสื่อสารกัน คำมีความหมายได้หลายอย่าง อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามการนำไปใช้ในการสื่อสารกัน เมื่อเรียงเข้าประโยคจะมีความหมายเจตนาของผู้ส่งสาร
           ความหมายของคำแบ่งออกเป็น 2 ประการ คือ

           1.  คำที่มีความหมายโดยตรง เป็นคำที่ปรากฏในพจนานุกรม อาจมีได้มากกว่า 1 ความหมาย เช่น              
               ขัน   น. ภาชนะสำหรับตักน้ำหรือใส่น้ำมีหลายชนิด
                      ก. ทำให้ตึงหรือให้แน่นด้วยวิธีหมุนกวดเร่งเข้าไป เช่น ขันชะเนาะ ขันเกลียว
                      ก. อาการร้องเป็นเสียงอย่างหนึ่งของไก่ หรือนกบางชนิด เช่น นกเขา
                      ก. หัวเราะ นึกอยากหัวเราะ
           คำที่มีความหมายโดยตรงยังมีข้อสังเกต ดังนี้

                      1.1 คำบางคำที่มีความหมายเหมือนกัน เช่น
                           แข โสม ศศี ศศิธร นิศากร หมายถึง พระจันทร์
                           วจี วาจา วจี พจนา พจมาน ถ้อย หมายถึง คำพูด
                      อยากใฝ่ฝันอยากเอื้อมไปถึงโสม (หมายถึง พระจันทร์)
                      สักวาหวานอื่นมีหมื่นแสน ไม่เหมือนแม้นพจมานที่หวานหอม (หมายถึง คำพูด)

                      1.2  คำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน อาจทำให้ผู้ส่งสารใช้ผิดพลาดได้ จึงต้องระมัดระวังในการเลือกใช้คำให้เหมาะสมถูกต้อง คำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน เช่น

               
เพิ่ม-เติม    รัก-ชอบ  เช็ด-ถู
แออัด-คับคั่ง อวบ-อ้วน   แคะ-แงะ
เกลียด-ชัง  ยุบ-บุบ  โกรธ-แค้น
           ตัวอย่าง คำว่า รัก-ชอบ หมายถึง ความพอใจ
                      รัก หมายถึง พอใจอย่างผูกพัน ชื่นชมยินดี
                      ชอบ หมายถึง พอใจ
                      อาจารีย์ปฏิเสธการแต่งงานกับมงคล เพราะเธอไม่ได้รักเขาเพียงแต่ชอบแบบพี่ชายเท่านั้น

                      1.3  คำที่มีความหมายตรงกันข้าม จะช่วยเน้นให้เห็นความขัดแย้งกันชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น

โง่-ฉลาด  ทุกข์-สุข
อ้วน-ผอม รวย-จน
แพ้-ชนะ  ขึ้น-ลง
ขาว-ดำ  เข้า-ออก
ดี-ชั่ว สะอาด-สกปรก
สูง-ต่ำ ร้อน-หนาว
           ตัวอย่าง คำว่า รวย-จน
                      รวย หมายถึง มีมาก
                      จน หมายถึง ขาดแคลน
           บุญธรรมเป็นคนรวย แต่สมยศเป็นคนจน

           2.  คำที่มีความหมายโดยนัย เป็นความหมายของคำที่ไม่ปรากฏตามตัวอักษร แต่เมื่อกล่าวแล้วจะทำให้นึกไปถึงอีกสิ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นความหมายแฝงอยู่ในคำนั้น เช่น
                      หงส์ หมายถึง นกจำพวกเป็ด ลำตัวใหญ่ คอยาว (ความหมายโดยตรง)
                      หงส์ หมายถึง ผู้ดี ผู้มีศักดิ์ศรี (ความหมายโดยนัย)
           ตัวอย่าง คำว่า หงส์
                      หงส์ขาว หงส์ดำ เป็นพันธุ์ชนิดหนึ่งของหงส์ (ความหมายโดยตรง)
                      ถ้ามาลีรู้จักเลือกคบคนดี เธอจะเป็นหงส์ไปด้วย (ความหมายโดยนัย)

           คำที่มีความหมายโดยนัยยังมีข้อสังเกต ดังนี้
                      2.1 คำบางคำมีความหมายนัยประหวัด เมื่อกล่าวถึงแล้วจะไม่ได้นึกถึงความหมายโดยตรงแต่จะนึกไปถึงอีกสิ่งที่มีความหมายเกี่ยวโยงกันกับ คำนั้น เช่น
                      เธอมีปัญหาอะไรควรปรึกษาผู้ใหญ่
                      (ผู้ใหญ่ มีความหมายนัยประหวัดว่า ผู้ที่มีประสบการณ์มากเป็นที่พึ่งได้)
                      คิดจะเด็ดดอกฟ้าก็ต้องทำใจไม่กลัวความผิดหวัง
                      (ดอกฟ้า มีความหมายนัยประหวัดว่า หญิงผู้สูงศักดิ์)
                      2.2  คำที่มีความหมายเปรียบเทียบ การเปรียบเทียบจะช่วยให้เกิดความรู้สึก หรือเห็นลักษณะของสิ่งนั้นได้ชัดเจนขึ้น เช่น
                      ลูกคือดวงใจของพ่อแม่
                      ดวงใจ หมายความว่า สิ่งสำคัญที่สุด (เปรียบเทียบกับใจซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย)
                      เธอสวยดุจเทพธิดา
                      เทพธิดา หมายถึง ความดีความสวยที่สุด (เปรียบเทียบกับความงามของเทพธิดา ซึ่งมีความสวยงามที่สุดบนสวรรค์)
               

วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การเขียนวิจารณ์



ความหมายของการวิจารณ์

          "
วิจารณ์" ถ้าแปลตามรูปศัพท์ หมายถึง การไตร่ตรอง การไตร่ตรอง การตรวจตรา ซึ่งเป็นคำที่บัญญัติขึ้นใช้แทนคำว่า "Criticism" ในภาษาอังกฤษ
คำ "วิจารณ์" นั้นได้มีผู้อธิบายความหมายไว้ต่างๆ กัน แต่จะสรุปความให้เข้าใจง่าย และได้ความหมายมากที่สุด ดังที่ ดร.วิทย์ ศิวศริยานนท์ กล่าวไว้ในหนังสือวรรณคดีและวรรณคดีวิจารณ์ว่า
          
การวิจารณ์ที่แท้ คือ การพิจารณาลักษณะของบทประพันธ์ แยกแยะส่วนประกอบที่สำคัญ และหยิบยกออกมาแสดงว่าไพเราะและงดงามเพียงไร วิเคราะห์ความหมายบทประพันธ์นั้น ถ้าความหมายซ่อนเร้นอยู่ ก็ใช้ปัญญาหยั่งให้เห็นทะลุปรุโปร่ง และแสดงให้ผู้อ่านเห็นตาม ถ้าความหมายกระจัดกระจายอยู่ ก็พยายามประติดประต่อให้เป็นรูปเค้าพอที่ผู้อ่านจะเข้าใจได้ แสดงหลักศิลปะและแนวคิดของผู้ประพันธ์ ซึ่งเป็นแนวทางในการเขียนหนังสือนั้น นอกจากนั้น จะต้องเผยให้เห็นความสำคัญระหว่างส่วนประกอบต่าง ๆ ของงานนั้น และชี้ให้เห็นด้วยว่า แต่ละส่วนนั้นมีความสำคัญต่อส่วนรวมเพียงใด รวมความว่า การวิจารณ์คือ การแสดงให้เห็นว่า หนังสือนั้นมีลักษณะอย่างไร ทั้งในส่วนเนื้อเรื่อง ความคิดเห็น และทำนองแต่ง เมื่อได้อธิบายลักษณะของหนังสือให้ผู้อ่านเข้าใจแล้ว จึงวินิจฉัยลงไปว่า หนังสือนั้นดีหรือไม่ดีอย่างไร ควรจัดเข้าไว้ในชั้นไหน (วิทย์ ศิวศริยานนท์. ๒๕๑๘ : ๒๑๗-๒๑๘)

 
ขั้นตอนของการวิจารณ์
ในการเขียนวิจารณ์นั้น เราอาจแบ่งได้เป็น ๓ ขั้นตอนดังนี้ คือ การสรุปแนวคิดและสาระของเรื่อง การวิเคราะห์กลวิธีการแต่ง และการประเมินคุณค่า

๑. การสรุปแนวคิดและสาระของเรื่อง แนวคิดของเรื่อง คือ แก่นหรือจุดสำคัญของเรื่องซึ่งเป็นหลัก เป็นแกนกลางของเรื่องนั้น เราสามารถจะหาได้ จากการศึกษาส่วนประกอบอื่น ๆ ของเรื่องสั้น เช่น โครงเรื่อง ภาษา ฉาก ตัวละคร บทสนทนา เป็นต้น ข้อสังเกต คือ แนวเรื่องนี้มักมีความสำคัญ เชื่อมโยงกับ ชื่อเรื่อง ดังนั้นสำหรับผู้วิจารณ์ที่เพิ่งหัด อาจจะใช้ชื่อเรื่องของงานวิจารณ์เป็นแนวสังเกตของเรื่องได้ด้วย ส่วนสาระของเรื่องนั้น คือ เนื้อหาอย่างคร่าวซึ่งไม่ใช่การย่อความ เนื่องจากผู้วิจารณ์สามารถนำข้อความ ตลอดจนคำพูดของตัวละครในเรื่องที่วิจารณ์ มาเขียนประกอบไว้ ในสาระของเรื่องได้ เพื่อช่วยให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น
๒. การวิเคราะห์กลวิธีการแต่ง ขั้นที่ ๒ นี้ เป็นการใช้เทคนิคและศิลปะอันเป็นความรู้ และฝีมือที่ผู้เขียนสามารถถ่ายทอดความรู้และ อารมณ์สะเทือนใจ มาสู่ผู้อ่าน เช่น การใช้คำ การใช้ภาพพจน์ การใช้โวหาร อุปมาอุปไมย เป็นต้น ศิลปะในการใช้ภาษาในแบต่างๆ นี้ ผู้วิจารณ์สามารถเลือกใช้ให้เหมาะกับ งานวิจัยนั้น ๆ เพื่อที่จะสื่อความเข้าใจและอารมณ์มาสู่ผู้อ่านได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด
          
นอกจากกลวิธีการแต่ง และศิลปะการใช้ภาษาดังกล่าวแล้ว อาจจะใช้ศิลปะการสร้างเรื่อง อาจแยกได้เป็นการเขียนโครงเรื่อง ตัวละคร ฉาก ฯลฯ ซึ่งศิลปะการสร้างเรื่องนี้ มักใช้ในงานเขียนที่เป็นเรื่อง เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น บทละคร เป็นต้น
๓. การประเมินคุณค่า เป็นขั้นสุดท้ายของการวิจารณ์ เมื่อผู้วิจารณ์ได้ศึกษาการเขียนในขั้นตอนที่ ๑ และขั้นตอนที่ ๒ แล้ว ผู้วิจารณ์สามารถ แสดงความคิดของตน อย่างมีเหตุผลได้อย่างเต็มที่ เพื่อประเมินคุณค่าของงานเขียนนั้น การประเมินคุณค่าทางงานเขียนแบ่งได้เป็น
๓.๑ ด้านความคิดริเริ่ม งานเขียนบางเรื่องอาจจะไม่มีคุณค่าทางวรรณศิลป์เด่น แต่เป็นงานเขียนที่มีความคิดริเริ่มก็มักจะได้รับการยกย่อง ดังจะเห็นได้จากเรื่อง "ความพยาบาท" ของ แม่วัน ได้รับการยกย่อง เพราะเป็นหนังสือนวนิยายเล่มแรก ที่แปลมาจากต้นฉบับภาษาต่างประเทศ หรือสุนทรภู่คิดแต่งกลอนแปด ที่มีสัมผัสในแพรวพราวจนเป็นที่นิยมกันมาจนถึงปัจจุบัน ก็ได้รับการยกย่องความคิดริเริ่มนั้น หรือพระมหามนตรี (ทรัพย์) แต่งเรื่อง "ระเด่นรันได" ล้อเลียนภาพสังคมในสมัยรัชกาลที่ ๒ ซึ่งกวีในสมัยก่อนน้อยคนนักจะกล้าทำ ท่านก็ได้รับการยกย่องที่มีความคิดริเริ่มเช่นนั้น เป็นต้น
๓.๒ ทางด้านวรรณศิลป์ คือ การประเมินคุณค่าทางด้านศิลปะการใช้ภาษาและการสร้างเรื่อง ศิลปะการใช้ภาษานี้ถ้าได้ศึกษาอย่างละเอียด ก็สามารถทราบความสามารถของผู้แต่งในเรื่องการเลือกใช้คำ ว่ามีความไพเราะและสื่อความหมายได้เหมาะสม จนสามารถ โน้มน้าวผู้อ่าน ให้เกิดความคิดเห็นคล้อยตาม ตลอดจนเกิดอารมณ์สะเทือนใจได้ตรงตามจุดประสงค์ของผู้แต่งเพียงใด
          
ศิลปะการสร้างเรื่องนี้ ถ้าส่วนประกอบของเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น โครงเรื่อง บทสนทนา ตัวละคร ฉาก ฯลฯ มีการประสานกลมกลืนกันอย่างงดี และมุ่งให้ผู้อ่านเกิดความคิดไปสู่แนวทางที่เป็นเป้าหมายของเรื่องแล้ว ก็นับว่าเป็นเรื่องที่มีศิลปะการสร่างเรื่องที่สมเหตุสมผล สามารถให้ผู้อ่าน เข้าถึงอารมณ์สะเทือนใจได้ จึงถือเป็นศิลปะที่มีคุณค่าทางวรรณศิลป์ได้ด้วย
๓.๓ คุณค่างานที่มีต่อสังคม งานเขียนเป็นสิ่งที่คนในสังคมสร้างขึ้นมา ฉะนั้นผลของงานเขียนที่มีต่อสังคมจึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่าควรศึกษา อันได้แก่
๓.๓.๑ คุณค่าทางด้านความเพลิดเพลิน เป็นคุณค่าหนึ่งที่สำคัญ เพราะจะเป็นสื่อนำผู้อ่านให้เกิดความสนใจเรื่อง เป็นการชักจูงขั้นต้น ฉะนั้นงานเขียนใดมีแต่สาระไม่มีความเพลิดเพลินแฝงไว้สำหรับผู้อ่าน ผู้อ่านมักจะไม่สนใจอ่านตั้งแต่ต้น งานเขียนนั้นก็ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่ผู้แต่งตั้งไว้ได้เลย
๓.๓.๒ คุณค่าทางด้านความคิด เป็นคุณค่าที่เกิดจาดอิทธิพลความคิดเห็นของผู้แต่ง ซึ่งปรากฏอยู่ในงานเขียน อันมีอิทธิพลต่อความคิดของผู้อ่านในสังคมนั้น ทั้งนี้อาจจะรวมถึงอิทธิพลที่ผู้แต่งได้รับมาจากสังคมด้วยก็ได้ คุณค่าทางด้านความคิดนี้นับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้งานเขียนมีคุณค่ามากขึ้น
การประเมินคุณค่าทางงาน เขียนนั้น ถ้ามีเพียง ๒ ส่วนประกอบกันอย่างเหมาะสม ก็จะช่วยให้งานเขียนนั้นเด่นขึ้น จึงนับว่าคุณค่าทั้ง ๒ ประการเป็นคุณค่าที่มีความสำคัญซึ่งกันและกัน

หลักในการวิจารณ์งานเขียนเฉพาะประเภท

          
งานเขียนแต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะของตนเอง การศึกษาเพื่อเป็นพื้นฐานในที่นี้ จะแบ่งออกเป็น งานร้อยกรองบทสั้นและงานเขียนที่เป็นเรื่อง ทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง ดังนี้
๑. งานร้อนกรองบทสั้น ในที่นี้คือ งานร้อยกรรองที่ผู้เขียนไม่ได้ผูกเป็นเรื่องยาว แต่เป็นร้อยกรองที่กวีประพันธ์ขึ้น เพื่อสื่อความหมายสั้น ๆ หรือเป็นบทร้อยกรอง ที่คัดตัดตอนออกมาจากงานร้อยกรองที่เป็นเรื่องขนาดยาว หลักในการวิเคราะห์อาจแบ่งได้ดังนี้

๑.๑ ฉันทลักษณ์ การศึกษาฉันทลักษณ์อาจจะช่วยชี้แนะแนวทางของความต้องการของผู้เขียนหรือกวีได้บ้าง เนื่องจากจังหวะของฉันทลักษณ์ย่อมจะนำผู้อ่านให้เกิดความรู้สึกต่างๆ ได้เช่นเดียวกับเสียงดนตรี เช่น "โครงสี่สุภาพ" ผู้เขียนมักจะใช้เมื่อต้องการใช้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกสง่างาม ส่วน "กลอน" "กาพย์ยานี" ผู้เขียนมักใช้เมื่อต้องการให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกอ่อนหวาน เรียบง่าย เป็นต้น แต่ทั้งนี้ก็มิได้หมายความว่า ฉันทลักษณ์เพียงอย่างเดียวจะสามารถแบ่งชัดอารมณ์ที่แท้จริงของบทร้อยกรองได้เสมอไป
๑.๒ ความหมาย นับเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่เราต้องศึกษาให้ทราบแน่ชัดลงไปว่าบทร้อยกรองที่วิจารณ์นั้นกล่าวถึงเรื่องอะไร ในขั้นนี้ผู้วิจารณ์จะต้องศึกษาความหมายของคำในบทร้อยกรองให้ละเอียด เพื่อจะได้ตีความหมายของบบทร้อยกรองนั้น ๆ ได้ถูกต้องที่สุด
๑.๓ น้ำเสียง เป็นสื่อให้ผู้อ่านทราบถึงความคิดของผู้เขียนว่ามีความรู้สึกอย่างไรต่อสิ่งที่กล่าวถึง
๑.๔ จุดมุ่งหมายของผู้เขียน เมื่อเราศึกษาบทร้อยกรองเพื่อวิจารณ์ สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ การศึกษาจุดมุ่งหมายของผู้เขียน ทั้งที่ผู้เขียนแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัด และทั้งที่เราวิเคราะห์ได้เองจากภาษา น้ำเสียง และลีลาของบทร้อยกรองนั้น สิ่งเหล่านี้จะช่วยชี้แนะให้เราทราบจุดมุ่งหมายของผู้เขียนได้ แม้ว่าผู้เขียนจะไม่ได้บอกออกมาตรงๆ
๒. งานเขียนที่เป็นเรื่องทั้งบทร้อยกรองและร้อยแก้ว งานเขียนที่เป็นเรื่อง หมายถึง งานเขียนที่ผูกเป็นเรื่อง มีตัวละคร ฉาก ไม่ว่างานนั้นจะเป็นร้อยแก้ว เช่น เรื่องสั้น นวนิยาย ร้อยกรอง บทละคร เมื่อวิจารณ์งานเขียนประเภทนี้ทั้งเรื่องก็จะมีหลักที่จะเป็นแนววิเคราะห์ได้ดังนี้ คือ
๒.๑ โครงเรื่อง คือ การกำหนดการดำเนินเรื่อง ว่าเริ่มต้นอย่างไร ดำเนินเรื่องให้ผู้อ่านเข้าใจ แล้วสนใจเรื่องได้อย่างไร ตลอดจนให้เรื่องนั้นสิ้นสุดลงในรูปแบบไหน ระยะแรกของงานเขียนเป็นส่วนของเรื่องที่นำผู้อ่านเข้าสู่จุดความสนใจสูงสุดของเรื่อง ระยะที่สอง เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของเรื่อง คือส่วนที่เป็นจุดสนใจสูงสุดของเรื่อง และระยะที่สาม คือ ระยะคลายความสนใจของเรื่องจนจบ ระยะที่สามนี้มีหลายรูปแบบคือ ระยะคลายความสนใจ อาจยืดเยื้อออกไปอีกเล็กน้อย หรืออาจจะจบลงอย่างทันที ถ้าจุดคลายความสนใจยืดเยื้อมากเกินไป จะทำให้ผู้อ่านไม่สนใจเรื่องอีกต่อไป จุดสนใจสูงสุดของเรื่องอาจมีได้หลายครั้ง ถ้าเป็นเรื่องยาวมาก ๆ เพราะบางเรื่องมีลักษณะเป็นเรื่องหลายตอนมาเขียนผูกกันให้เป็นเรื่องยาว โดยใช้ตัวละครชุดเดิม
๒.๒ ฉาก คือ สถานที่ที่ผู้เขียนตัวละครดำเนินชีวิต ผู้วิจารณ์จำเป็นต้องศึกษาว่า มีความเหมาะสมกับเนื้อเรื่องและกาลเวลาในเรื่องอย่างไร และมีส่วนให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องได้เพียงใด
๒.๓ ตัวละคร เป็นสิ่งที่ช่วยให้เรื่องน่าสนใจ มีชีวิตชีวา การวิเคราะห์ตัวละคร ต้องศึกษาว่า ตัวละครแต่ละตัวมีบทบาทอย่างไร มีการพัฒนานิสัยเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมหรือไม่ อย่างไร โดยศึกษาได้จากการกระทำของตัวละคร คำพูดของตัวละครที่สนทนากัน และปฏิกิริยาของตัวละครอื่นที่มีต่อตัวละครที่เราวิจารณ์ ถ้าเราศึกษาตัวละครไปอย่างละเอียด เราก็จะทราบได้ว่าตัวละครที่นักเขียนสร้างขึ้น มีความสมจริงและสอดคล้องกับเหตุการณ์ในท้องเรื่องอย่างไร
๒.๔ เทคนิคการเขียน เป็นวิธีการที่ผู้เขียนใช้นำผู้อ่านเขข้าสู่เป้าหมายของเรื่องได้ นอกเหนือจากโครงเรื่อง ฉาก และตัวละคร เทคนิคใหม่ ๆ คือ
๒.๔.๑ บทสนทนา ในงานเขียนที่เป็นเรื่อง และมีตัวละคร จำเป็นต้องมีบทสนทนาที่ตัวละครจะพูดโต้ตอบกัน คำพูดนั้นจะต้องเหมาะสมกับสมัยที่เรื่องนั้นเกิดขึ้น และต้องเหมาะสมกับฐานะและสภาพของบุคคลในท้องเรื่อง
๒.๔.๒ วิธีการบรรยายเรื่อง วิธีการบรรยายเรื่องมีหลายวิธี วิธี หนึ่งคือ ผู้เขียนแสดงตนเป็นเหมือนพระเจ้า กำหนดและล่วงรู้ความรู้สึก ตลอดจนพฤติกรรมของตัวละคร แล้วถ่ายทอดให้ผู้อ่านทราบ อีกวิธีหนึ่งคือ ให้ผู้เขียนเข้าไปอยู่ในเรื่อง และเป็นผู้เรื่องที่ผ่านมาสู่ผู้อ่าน บางครั้งผู้บรรยายนี้อาจจะเป็นตัวละครเอกของเรื่อง หรือตัวละครที่มีบทบาทรองลงไป หรือเป็นตัวละคร ที่ไม่มีบทบาทในเรื่อง แต่เป็นบุคคลที่ เผอิญเข้ามามีส่วนรู้เห็นเหตุการณ์ จึงเขียนให้ผู้อ่านได้รับรู้เรื่องราวนั้นๆ อีกวิธีหนึ่งคือ ผู้เขียนจะไม่แสดงตนอย่างเด่นชัด แต่ผู้อ่านจะทราบ ความเป็นไปของเรื่องได้จากการสังเกตพฤติกรรมของตัวละคร วิธีการบรรยายเรื่องนี้มีส่วนเชิญชวนให้เรื่องน่าสนใจได้ ถ้าผู้เขียน ใช้ให้เหมือนเนื้อเรื่อง
๒.๔.๓ อิทธิพลของเรื่อง งานเขียนส่วนใหญ่มักได้รับอิทธิพลทางความคิดหรือกลวิธีการสร้างเรื่องจากประสบการณ์ชีวิต หรืออิทธิพลจาก เรื่องอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สภาพแวดล้อมและสังคมที่นักเขียนมีชีวิตอยู่ เพราะงานเขียนทุกเรื่องก็คือ ส่วนหนึ่งของภาพสะท้อน ของสังคมในแต่ละยุคสมัย นอกจากจะศึกษาอิทธิพลที่งานเขียนนั้นรับมาแล้ว ถ้าเป็นไปได้ควรศึกษา อิทธิพลที่งานนั้นมีต่อ งานเขียนผู้อื่นและ ผู้อ่านด้วย
          
ข้อที่น่าพิจารณาในทุกขั้นตอน คือ ความสมจริงของเรื่องทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นโครงเรื่อง ตัวละคร ฉาก และเทคนิคการเขียนอื่นๆ สมจริงกับชีวิตอย่างไร เพียงใด ตลอดจนการศึกษาแง่คิดหรือทัศนคติของผู้เขียนเรื่องนั้นด้วย เพื่อจะได้ทำให้งานเขียนวิจารณ์สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

คัดลอกมาจาก  http://elearning.spu.ac.th/content/thi114/write8.html